วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส้มตำ



ากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน  หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว   ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ   มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง   เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน   ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น  มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน  อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน  ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย
    ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล  แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด  เค็ม  และเปรี้ยว
     เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย  คือ  ปลาร้า  ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน  ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก   ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท   เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา


 ส้มตำ เป็นภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป ชาวอีสานเรียก ตำบักหุ่ง หรือตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานมีความหลากหลายมาก พืชผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรด ตำมะขาม ตำมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท  แต่โดยรวมๆแล้วจะเน้นที่ความมีรสจัดจ้านถึงใจและเน้นที่ความเปรี้ยวนำ
     ล้มตำลาว ของชาวอีสานบางครั้งจะใส่ผลมะกอกพื้นบ้าน(เฉพาะฤดูที่มีผลมะกอกพื้นบ้าน) เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ โดยฝานเป็นชิ้นรวมกับส้มตำมะละกอ ช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น ส้มตำลาวเป็นเมนูอาหารหลักของชาวอีสานรองจากข้าวเหนียว  สามารถรับประทานกันได้ทุกวันและทุกมื้อ วัฒนธรรมการกินอาหารอย่างหนึ่งของชาวอีสาน คือ หากมื้อใดมีการทำส้มตำรับประทานก็มักจะเรียกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมสังสรรค์ รับประทานส้มตำด้วย บางคนถึงกับบอกว่า ทานคนเดียวไม่อร่อย ต้องทานหลายๆ คน หรือแย่งกันทาน เรียกว่าส้มตำรวยเพื่อนก็ไม่ผิดนัก  และตามงานบุญต่างๆของชาวอีสานจะขาดส้มตำไม่ได้เลย  ถ้าขาดส้มตำอาจจะทำให้งานนั้นกร่อยเลยทีเดียว
     บางคนครั้งส้มตำลาวจะอร่อยหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับปลาร้าเป็นสำคัญ ถ้าหากปลาร้าอร่อยมีรสชาติดี ก็จะทำให้ส้มตำลาวครกนั้นมีรสชาติอร่อยไปด้วย ปลาร้าที่ใส่ส้มตำสามารถใส่ได้ทั้งน้ำและตัวปลาร้า หรือบางคนก็ใส่แต่น้ำปลาร้า ใส่เพื่อพอให้มีกลิ่นแล้วแต่คนชอบแต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน ชาวอีสานส่วนใหญ่ยังมีความคิดว่ากินปลาร้าดิบแซ่บกว่าปลาร้าสุก  ดังนั้นชาวบ้านตามชนบทมักจะใช้ปลาร้าดิบเป็นส่วนประกอบในส้มตำ ด้วยความคิดเช่นนี้จึงทำให้กลายคนดินปลาร้าแล้วได้พยาธิ(ส่วนใหญ่จะเป็นพยาธิใบไม้ในตับ) ิแถมเข้ามาอยู่ในตัวด้วย ถึงแม้ว่าการใช้เกลือประมาณร้อยละ 30 ของน้ำหมักปลาในการหมัก ก็เป็นเพียงการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เท่านั้น แต่ยังไม่มีคำยืนยันจากนักวิชาการว่าเกลือสามารถฆ่าพยาธิได้  ดังนั้นควรใช้ปลาร้าที่ต้มสุกแล้วจะปลอดภัยกว่า
     นอกจากนี้จากผลการวิจัยขอคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่าในปลาร้าดิบมีสารที่ยับยั้งการทำงานของวิตามินบีหนึ่ง ซึ่งการที่จะทำให้สารชนิดนี้หมดไปได้มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การทำให้สุกโดยใช้ความร้อน

เครื่องปรุง
มะละกอสับตามยาว
ถ้วย (100 กรัม)
มะเขือเทศสีดา
ลูก (30 กรัม)
มะกอกสุก
ลูก (กรัม)
พริกชี้หนูสด
10 เม็ด (15 กรัม)
กระเทียม
10 กลีบ (30 กรัม)
น้ำมะนาว
1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
น้ำปลา
½ ช้อนโต๊ะ (กรัม)
น้ำปลาร้าต้มสุก
ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ผักสด ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ยอดปักบุ้ง ยอดและฝักกระถิน ยอดมะยม  ไก่ย่าง  แคบหมู


 วิธีทำ
     1. โขลกกระเทียม พริกขี้หนู พอแตก
     2. ใส่มะละกอ มะเขือเทศผ่าซีก ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกัน
     3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบาๆ พอเข้ากันชิมตามชอบ รับประทานกับผักสด






วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไก่ยาง

สูตรไก่่ย่าง

เครื่องหมักไก่
1. ไก่ 2 กิโล
2. ตะไคร้ 3 ต้น
3 . กระเทียม 20 กลีบ
4 . รากผักชี 7 ราก
5 . พริกไทยดำ 1 ช้อนโต๊ะ
6 . ใบเตย 2 ใบ
7. ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
8 . ซีอิ้วขาว 1-1/2 ช้อนโต๊ะ
9. หอมแดง 4 หัว
10. นมสด 1 กระป๋อง
11. เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

ล้างไก่ให้สะอาดผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำรากผักชี ตะไคร้ ใบเตย พริกไทย กระเทียม หอมแดง มาปั่นพร้อมกับนมสดให้ละเอียด จากนั้นนำมาเทใส่ภาชนะสำหลับหมักไก่ ผสมเครื่องปรุงคลุกเคล้าให้เข้ากันนำไก่ลงไปหมักทิ้งไว้ 30 นาทีจากนั้นมาทำน้ำจิ้มกัน

น้ำจิ้มสูตรที่1

1. น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำมะขามเปียกต้มสุก 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะ
5. ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
6. พริกป่่น 1 ช้อนโต๊ะ
7. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
8. ผักชีฝรั่ง

วิธีทำ

นำน้ำมะนาว น้ำตาลปิ๊บ น้ำมะขามเปียก น้ำปลา มาผสมจนเข้ากันดีแล้วชิมรสให้ได้รส เปรี้ยว หวาน เค็ม จากนั้นใส่ข้าวคั่ว พริกป่น คนให้เข้ากันแล้วโรยด้วยต้นหอมซอยผักชีฝร้ง

สูตรที่2

1. กระเทียม 5 กลีบ
2. พริกชี้ฟ้าแดง 3 เม็ด
3. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยต้วง
4. กระเทียมดอง 2 หัว
5. เกลือ 1-2 ช้อนชา

วิธีทำ

นำเครื่องที้งหมดมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปตั้งไฟให้น้ำตาลละลายเป็นใช้ได้

*หมายเหตุ*ตอนย่างไก่ควรใช้ไฟอ่อนๆๆแล้วอย่าลืมทาน้ำมันที่ไก่ตอนเรากลับไก่ด้วยนะค่ะเพราะจะทำไห้ไก่มีสีเหลืองน่าทาน

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แกงหอยขม



แกงหอยขม

ถึงจะเป็นแค่หอยตัวเล็กๆ แต่ก็มากด้วยคุณค่าทางอาหาร มีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เบต้าแคโรทีน เมื่อนำมาประกอบอาหารแล้วยังมีสรรพคุณช่วย ขับลม ดับร้อน ถอนพิษไข้ได้  

ส่วนใหญ่จะนำหอยขมมาแกงกะทิกันและจะใส่ชะอมหรือใบชะพลูร่วมด้วยก็ได้ เป็นเมนูที่รับประทานกันตั้งแต่ดั้งแต่เดิมแล้ว เรียกได้ว่าเป็นอาหารไทยแท้เลยก็ว่าได้ มีรสชาติที่อร่อย ทำง่าย และวันนี้เราจะมาทำแกงหอยขมใบชะพลูกัน แต่บางคนไม่กล้าที่จะกินเพราะใส่กะทิ ถึงแม้ว่ากะทิเป็นไขมันอิ่มตัวทำให้อ้วนแต่ถ้าใช้ใบชะพลูใส่ลงไปก็จะได้ช่วยดูดซึมวิตามินทำให้ไขมันละลายได้ นั้นเรามาเริ่มทำแกงหอยขมใบชะพลูกันดีกว่า


เครื่องแกง


พริกขี้หนูแห้ง  15-20 เม็ด (แต่ถ้าใครชอบเผ็ดมากก็ใส่เพิ่มได้) 
เกลือ  2 ช้อนชา 
ตะไคร้ซอย  1 ต้น 
พริกไทยดำ  1 ช้อนชา 
กระเทียม  3-5 กลีบ 
ขมิ้น  2 แว่น 
กะปิ  1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุง

มะพร้าว  4 ขีด 
ใบมะกรูด  3 ใบ 
ใบชะพลูซอยบาง  2 กำมือ 
หอยขมสับก้นแล้ว  1 กิโลกรัม (แต่ถ้าเป็นหอยที่หาเองก็ควรนำมาล้างและแช่น้ำขังไว้ 1 คืนก่อนเพื่อให้โคลนออก ก่อนที่จะสับก้นหอยแล้วล้างอีกครั้ง ตั้งจนสะเด็ดน้ำ)

วิธีทำ


1. นำเครื่องแกงที่เตรียมไว้มาตำรวมกันให้ละเอียด จากนั้นใส่กะปิและตำอีกครั้งจนเข้ากัน
2. คั้นมะพร้าวเป็นหัวกะทิ 1 ส่วน หางกะทิ 2 ส่วน นำกะทิส่วนหางมาตั้งไฟจนกะทิเดือดจนได้ที่ ใส่เครื่องแกงที่ตำแล้วลงไปคนจนเครื่องแกงละลาย
3. นำหอยขมใส่ลงไปตั้งไฟจนสุก (เพราะในหอยขมจะมีพยาธิ ถ้าหากไม่สุกเมื่อกินเข้าไปแล้วก็จะทำให้พยาธิไปโตในท้องได้) เมื่อหอยสุกก็เติมหัวกะทิลงไป ตามด้วยใบมะกรูดฉีก ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา จนได้รสชาติถูกปากเป็นอันเสร็จ

ก้อยปลาซิว


ก้อยปลาซิว

ส่วนประกอบ

1. ปลาซิว
2. น้ำมะนาวหรือมะกอก
3. ข้าวคั่ว
4. น้ำปลา
5. น้ำปลาร้า
6. ต้นหอมซอย
7. ผักหอมเปหรือสะระแหน่
8. พริกป่น
9. มดแดง
                                       10. เกลือ

2. กรรมวิธี นำปลาซิวมาเด็ดหัวออก ทุบหรือตำให้แบน ๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเกลือให้ตัวปลาซิวชา น้ำมะนาวหรือมดแดงคลุกกับปลาซิวให้เข้ากันดีคั้นบีบเอาน้ำออกจนปลาซิวขาว นำเอาเครื่องปรุงใส่ พริกป่น ข้าวคั่ว หอมซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสตามใจชอบด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า และน้ำมะนาว

หมายเหตุ ควรกินกับผักเคียง
1. ใบผักเม็กอ่อน
2.ใบกระโดนอ่อน
3.ใบมะม่วงหิมพานต์
4.ใบมะกอก

ก้อยไข่มดแดง

ก้อยไข่มดแดง

ส่วนผสม ไข่มดแดง 300 กรัม 
หัวหอมซอย 7 - 8 หัว 
น้ำปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ 
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ 
น้ำมะนาว 1 ช้อนชา 
พริกแห้งป่น 1.5 ช้อนโต๊ะ 
ข้าวคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ 
ต้นหอมหั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ 
ใบสะระแหน่ 5 - 6 ต้น (เด็ดเป็นใบ) 


วิธีทำ
นำไข่มดแดงล้างให้สะอาดใส่กระชอน พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม 
นำเครื่องปรุงทั้งหมดใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน 
ใส่พริกแห้งป่น ข้าวคั่วป่น หัวหอมซอย ต้นหอมหั่นฝอยชิมรส ตักใส่จาน โรยหน้าด้วย ใบสะระแหน่และพริกชี้ฟ้าสด 
เสร็จแล้วตักมากินกับผักกะโดน เม็ก ติ้ว หนอก (บัวบก) มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา แซบหลายเด้อพี่น้อง สมกับเป็นอาหารชั้นสูงจริงๆ

ลาบหมู


ลาบหมู

                   ส่วนผสม
             หมูสับ      1 ถ้วย
             หนังหมูหั่น       3 ช้อนโต้ะ
ตับหมูหั่น         3 ช้อนโต้ะ
ใบสาระแหน่     1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว          2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา             2 ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่ว             2 ช้อนโต๊ะ
ใบหอมซอย     1 ช้อนโต๊ะ
ผักชีฝรั่งซอย    1 ช้อนโต๊ะ
พริกแห้งบด       1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล              1 ช้อนชา
หอมแดงซอย    3 ช้อนโต้ะ

ขั้นตอนและวิธีการทำลาบหมู


1.ต้มหมูสับ หนังหมูและตับหมูให้สุก จากนั้น นำเนื้อหมูสับที่ หนังหมูและตับหมูที่ต้มสุกแล้ว พักใส่ชาม
2.ปรุงรสลาบด้วย น้ำปลา น้ำตาล มะนาว ข้าวคั่ว ใบหอม ผักชีฝรั่ง พริกแห้งบด ใบสาระแหน่ และ หอมแดงซอย ผสมกับหมูสับ หนังหมูและตับหมูให้เข้ากัน
3.เสริฟใช่จาน ทานกับข้าวเหนียวและผัก เช่น แตงกวา ผักกากขาว และถั่วฝักยาว


วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ลาบเทา


ลาบเทา เป็นอาหารพื้นบ้านทางแถบอิสาน โดยการนำเทา ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด ปรุงด้วยสูตรลาบอิสาน เรียกว่า " ลาบเทา " 

และเป็นที่นิยมรับประทานของชาวอิสานมาทุกยุคทุกสมัย เมนูลาบเทานี้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยช่วงจังหวะที่น้ำมีสภาพอุณหภูมิ และระบบนิเวศของน้ำมีความสำพันธ์กันอย่างเหมาะสม จึงจะเกิดเทาขึ้นมาได้มากน้อยต่างกัน พบว่า... แหล่งน้ำในช่วงฤดูหนาว เป็นช่วงที่เกิดเทาได้มาก และพบเทาได้มากกว่าในช่วงฤดูอื่น (เดือนพฤศจิกายน - มกราคม)

ส่วนผสม
1. เทา
2. ป่นปลา
3. น้ำปลาร้าต้มสุก
4. มะเขือ , ถั่วฝักยาว
5. หอมแดง
6. ต้นหอม ,  ยี่หร่า , ใบหูเสือ ( ยี่หร่า อิสานสนมเรียก หอมห่อ หรือ หอมเป )
7. พริกป่น , ข้าวคั่วบดละเอียด

การปรุงลาบเทา1. ผสมน้ำปลาร้าต้มสุกกับเทา แล้วคนให้เข้ากันให้ได้รูปในลักษณะของเหลวหนืด
2. ใส่ส่วนประกอบอื่นๆ ตามกันไป ได้แก่ ป่นปลาทูนึ่ง , ถั่วฝักยาว และมะเขือ (หั่นแล้ว) , หอมแดง (หั่นแล้ว) บ้างก็ใส่กระเทียมเล็กน้อย สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานกระเทียม , พริกป่น + ข้าวคั่วบดละเอียด , ต้นหอม + ยี่หร่า + ใบหูเสือ (ซอยแล้ว) แล้วคนให้เข้ากันทีเดียวอีกครั้ง ตักเสิร์ฟพร้อมรับประทาน

หมายเหตุ : เทาอาจมีไข่พยาธิ หรืออื่นๆ ปนมาด้วย เมื่อต้องการกำจัดไข่พยาธิด้วยวิธีการต้มเดือดลาบเทาที่ปรุงเสร็จแล้วนั้น ลาบเทาจะเหลวเป็นน้ำ แต่คุณค่าอาหารยังอยู่ หากต้องการรับประทานลาบเทาสดๆ ให้นำเทาไปแช่แข็งก่อนปรุงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งประมาณ 10 - 20 นาที ไข่พยาธิก็จะแตก (ตาย)



แกงเห็ดฟางใส่ผักหวาน


แกงเห็ดฟางใส่ผักหวาน
         แกงเห็ดฟางใส่ผักหวานเมนูที่ทำกินได้ทุกฤดูกาล เป็นเห็ดเพาะของเกษตรกรมีขายอยู่ทุกฤดูกาล หาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ซึ่งจะไม่เหมือนเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่มีเฉพาะฤดูฝนหรือหน้าฝนเท่านั้น แกงเห็ดใส่ผักหวาน จำพวกเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เนื้อเหนียว หนานุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนของเลือดและโรคกระเพาะ
ส่วนผสม
1.ยอดผักหวาน
2.เห็ดฟางดอกตูม
3.เห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง เห็ดหูหนู เห็ดภูฐาน
4.พริกขี้หนูแห้งเม็ดเล็กหรือพริกสด 7 เม็ด
5.หอมเล็ก 5-7 หัว
6.ตะไคร้
7.ใบแมงลัก
8.น้ำปลาร้า หรือ น้ำปลา


วิธีทำ
1.โขลกพริก หอมเล็กพอแหลก โขลกต่อให้เข้ากัน
2.นำเห็ดฟางผ่าครึ่ง เห็ดนางฟ้า ฉีกเป็นชิ้นๆ
3.ตั้งน้ำให้เดือด ใส่เห็ดฟาง รอจนเห็ดสุก ใส่ผักหวาน และข้าวคั่วหรือหรือเบือ
4.พอผักสลด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า ใส่ใบแมงลัก คนให้เข้ากันและมีกลิ่นหอม
หมายเหตุ : ข้าวเบือ คือ ข้าวสารเหนียวแช่น้ำแล้วนำมาโขลกให้ละเอียดสำหรับใส่แกงเห็ดเพื่อให้น้ำแกงเข้มข้นน่ากินแซบบ

 


ตำถั่วฝักยาว


ตำถั่วฝักยาว
          ส่วนผสม
          ถั่วฝักยาวหั่นท่อนยาวหนึ่งนิ้ว 100 กรัม
          พริกขี้หนู 10 เม็ด
          กระเทียมปอกเปลือก 5 กลีบ
          น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
          น้ำมะนาว 1 ½ -2 ช้อนโต๊ะ
          มะเขือเทศสีดาหั่นเสี้ยว 3 ลูก
วิธีทำ
1. ตำถั่วฝักยาวเอาแค่พอบุบแตก ตักใส่จานพักไว้
2. ตำพริกขี้หนู และกระเทียมพอบุบแตก
3. ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลปี๊บ ใช้สากกดคนจนน้ำตาลปี๊บละลาย คลุกเคล้าให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากัน
4. ใส่มะเขือเทศสีดา โขลกเบาๆ พอมะเขือเทศสีดาช้ำ
5. ใส่ถั่วฝักยาวที่บุบไว้ในข้อ 1 แครอท ใช้ช้อนยาว และสากโขลกเบาๆ คนให้เข้ากัน
6. ใส่ถั่วลิสงคั่ว ลงไปใช้ช้อนคนให้เข้ากัน
7. ตักส้มตำถั่วฝักยาวใส่จานเสิร์ฟ พร้อมผักสดและข้าวเหนียวร้อนๆ



วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ปลานึง

นึ่งปลา
 เมืองไทยเรานั้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” แสดงถึง ความอุดมสมบูรณืของธรรมชาติและสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตอยู่ของคนไทยในชนบทได้เป็นอย่างดี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่ชาวภาคอัสานที่มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตผูกพันอยู่กับนาข้าว และหนองน้ำ ปลาหลายชนิดถูกนำมาประเป็นอาหาร ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดตำรับเมนูอาหารต่างๆ
    ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีท่อนหัวคลายงูมีเกล็ดคลายปลาชะโดแต่ตัวเล็กกว่า เนื้อปลาช่อนมีรสหวาน ก้างน้อย รสชาติอร่อย จึงเป็นปลาที่นิยมรับประทานกันมาปัจจุบันมีราคาแพง ชาวอีสานนิยมรับประทานกันมาก ปัจจุบัน มีราคาแพง ชาวอีสานนิยมนำมาทำเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น แจ่วปลาช่อนห่อหมกปลาช่อนต้มยำปลาช่อนเป็นต้น แต่เมนุอาหารที่ชาวอีสานหรือคนภาคอื่นๆ นิยมรับประทานกันในบรรดาตำรับปลาอีกประเภทหนึ่งคือ ปลานึ่ง ว่ากันว่าในจำนวนปลานึ่งทั้งหลายนั้น ปลาช่อนนึ่งจัดเป็นอาหารตำรับหนึ่งที่มีรสชาติอร่อยเหลือหลายที่ชาวอีสานทุกคนต้องบอกว่าแซ่บอีหลี

เครื่องปรุง

ปลาช่อนหนัก
500 กรัม ตัว
กะหล่ำดอก
ดอก (200 กรัม)
ผักกวางตุ้ง
ต้น (200 กรัม)
ถั่วฝักยาว
ฝัก (100 กรัม)
เกลือป่น
ช้อนชา (กรัม)
ข่าวเหนียวนึ่ง
ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ตะไคร้
ต้น (30 กรัม)
ใบแมงลัก
ใบ (กรัม)
ใบมะกรูด


 วิธีการปรุง
     1. ขอดเกล็ดปลา ผ่าหลังตั้งแต่หัวจรดหาง แผ่ออกแล่ก้างกลางเอาไส้ทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วเคล้ากับเกลือ ข้าวเหนียวนึ่ง
     2. ล้างผักทั้งหมดให้สะอาด หั่นผักกวางตุ้ง กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว เป็นชิ้นใหญ่ วางในจาน แล้ววางปลาลงบนผัก
     3. ทุบตะไคร้หั่นท่อน ฉีกใบมะกรูด วางบนตัวปลาใส่ลังถึงนึ่งจนปลาสุก โรยใบแมงลัก ปิดฝายกง
     4. รับประทานกับแจ่วมะเขือเทศ


½ ถ้วย (15 กรัม)





ลาบไก่


เครื่องปรุง
 เนื้อไก่ หนังไก่ เครื่องในไก่ นำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว พริกสด หอมแดงแห้ง
 ผักชี หอมสด สะระแหน่ หอมเป[ผักชีฝรั่ง] ข่าสด มะนาว



วิธีทำ
  - ไก่หั่นเป็นชิ้นแล้วสับไม่ละเอียดมากนัก หนังไก่และเครื่องในต้มให้สุกดี(อย่าต้มนาน)แล้วหั่นเป็นชิ้น
 - โขลกข่าสดให้ละเอียด ผักชีและสะระแหน่เด็ดเป็นใบ หั่น   ก้านผักชีหอมสดผักชีฝรั่ง
 - คั่วข้าวคั่วจนสุกและหอมหอมแล้วโขลกให้ละเอียด แล้วหั่นหอมแห้งบางๆ
 - เนื้อไก่รวนให้สุก ใส่หนังไก่ ข่าสด นำปลา มะนาวพริกป่น พริกสดหั่นข้าวคั่วหอมแห้งเครื่องในไก่ ผัก คนให้เข้ากัน  ชิมดูรสตามใจชอบ   จัดใส่จานรับประทานกับข้าวเหนียวและผักพื้นบ้าน
เคล็ดลับ
 - ควรใช้ไก่บ้านเนื้อเพราะเนื้อจะแน่น
 - เครื่องในไก่ใส่สุดท้ายเพราะถ้าคนมากจะเละ
 - รับประทานกับผักสดเช่นแตง ถั่ว ผักกาด ยอดมะตูมอ่อน ยอดกระถิน และผักอื่นๆตามชอบ